อินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

        เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานของรัฐบาลสถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อมูล สารสนเทศ สินค้าและบริการที่นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถ เข้าถึงได้จากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ จากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน โรงเรียน ชายทะเล หรืออาหารทั่วโลก
       ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล (e-mail) พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ห้องคุย (chat room) การส่งสารทันที (instent messaging) และวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือวีโอไอพี (Voice over IP: VoIP)



โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต
         
      ประกอบด้วยเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน 5.2 อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครือข่ายอื่นด้วยความเร็วและคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสื่อสาร และสื่อที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟเบอร์ออพติกและคลื่นวิทยุ 
       ถึงแม้ในปัจจุบันพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน้ตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินเทอร์เน็ตก็ยังคงเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการดูแล และจัดการจราจรข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในเฉพาะเครือข่ายที่รับผิดชอบ



การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
             
          ผู้ใช้ที่เป็นคนทำงาน นักเรียน หรือนักศึกษา มักจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของหน่วยงาน โรงเรียนหรือมหาวิยาลัย ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ หรืออาจเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต (broadband Internet connection) เช่น เอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line : ADSL) เคเบิลโมเด็มที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเคเบิลทีวี หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เช่น ไวไฟ หรืออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม 
        สถานที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม มักจะมีบริการอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์แบบพกพาสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้โดยสะดวก
        ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (Internet Service Provider : ISP) ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน้ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที และสามารถเทลคอม นอกจากนี้ไอเอสพียังให้บริการเสริมอื่นๆ เช่น อีเมล เว็บเพจ พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ตัวอย่างการเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตโดยผ่านผู้ให้บริการ



การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

       คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ต มีคุณลักษณที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทของคอมพิวเตอร์ ซีพียู หรือระบบปฏิบัติการนอกจากนี้รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่อินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นแลนหรือแวนก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน การที่อินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เนื่องจากใช้โพรโทคอลเดีวยกันในการสื่สารที่เรียกว่า ทีซีพี/ไอพี(Transmission Control Protocol: TCP/IP)

เลขที่อยู่ไอพี 
     เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันบนอินเตอร์เน็ต จะมีหมายเลขอ้างอิงในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า เลขที่อยู่ไอพีหรือไอพีแอดเดรส(IP address)ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันเลย โดยไอพีแอดเดรสประกอบด้วยเลข4ชุด ซึ่งแยกกันด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 202.29.77.155 ซึ่งเป็นไอพีแอดเดรสของเว็บไซต์สถาบันส่งเสริมดารสอนวืทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ระบบชื่อโดเมน
      เนื่องจากเลขที่อยู่ไอพีอยู่ในรูปของชุดตัวเลขซึ่งยากต่อการจดจำและอ้างอิงระหว่างการใช้งานดีงนั้นจึงกำหนดให้มีระบบชื่อโดเมน(Domain Name System: DNS)ซึ่งแปลงเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นชื่อโดเมนที่อยู่ในรูปของชื่อย่ออังกฤษหลายส่วนคั่นด้วยเครื่องหมายจุด





เวิลด์ไวด์เว็บ(www.)

   การเรียกดูเว็บ
   เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) หรือเรียกสั้นๆว่า ลิงค์ (link) เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน้ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safari, Google Chrome และ Opera


     ที่อยู่เว็บ
    ในการอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล (Unifrom Resource Locator: URL)

โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพี และเอฟทีพี (File Transfer Protocol: FTP) ในกรณีของเอชทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้ เนื่องจากถ้าไม่ระบุโพรโทคอล เว็บเบราว์เซอร์จะเข้าใจว่าผู้ใช้มีความประสงค์จะใช้โพรโทคอล เอชทีทีพีเพื่อเข้าถึงเว็บเพจ


    การค้นหาผ่านเว็บ
     โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ซเอนจิน (SEARCH ENGINES)ใช้สำหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ (keyword) เพื่อนำไปค้นในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคำหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิงได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมค้นหาสามารถให้บริการค้นหาข้อมูลตามประเภท หรือแหล่งข้อมูล เช่น ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพ วีดิทัศน์ เสียง ข่าว แผนที่ หรือบล็อก โปรแกรมค้นหาแต่ละโปรแกมอาจใช้วิธีที่ต่างกันในการจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจกับคำหลักที่ระบุ โดยเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกับคำหลักมากที่สุดจะอยุ่ในอันดับบนสุด ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา เช่น Ask, AltaVista, Bing, Excite, Google และ Yahoo
เมตาเสริร์ชเอนจิน (metasearch enging) เป็นโปรแกรมค้นหาที่ไม่มีการรวบรวมเว็บเพจไว้เป็นฐานข้อมูลของตนเอง แต่ค้นหาจากฐานข้อมูลของโพปรแกรมค้นหาอื่นๆ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการที่สุด จากโปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยอาจแสดงผลลัพธ์รวมจากทุกโปรแกรมค้นหาไว้ในชุดเดียวกัน และตัดรายการผลลัพธ์ที่ซ้ำซ้อนกันออกไป หรืออาจแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรมค้นหาแยกเป็นคนละชุด ซึ่งอาจทีรายการที่ซ้ำซ้อนกันปรากฏฝอยู่ตัวอย่างของเมตาเสิร์ชเอนจิน เช่น Dogpile, Mamma และ Vivsimo 


     เว็บ 1.0  และเว็บ 2.0
       เว็บ 1.0 (Web 1.0) เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีลักษณะให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลและสารสนเทศตามที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียวไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และมีรูปแบบการใช้งานไม่หลากหลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อจำกัดหลายประกาย เช่น ความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายช่องทางในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีในการพัฒนาเว็บ อีกทั้งจำนวนผู้สร้างเว็บมีอยู่เป็นจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าถึงเว็บเพื่อบริโภคข้อมูลและสารสนเทศ
    ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้การบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บเพจ เช่น การโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ ความคิดเห็น การจัดอันดับ ด้วยความแตกต่างที่พบได้เหล่านี้ จึงได้มีการเรียกเว็บประเภทนี้ว่าเว็บ 2.0 (Web 2.0)
    ลักษณะเด่นที่พบในเว็บ 2.0 ที่แตกต่างจากในเว็บ 1.0 เช่น มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่านเว็บไซต์ มีการพัฒนาความร่วมมือแบบออนไลน์ มีการแบ่งปันข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพิ่มมากขึ้น



บริการบนอินเทอร์เน็ต

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความและไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่รับใช้รับและส่งจดหมาย


1. ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในอีเมล

2. เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน

3. เขียนข้อความให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ เหมาะสมกับกาลเทศะ และลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง

4. ใช้ bcc ในการระบุผู้รับ เมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับที่ระบุใน bcc

5. อย่าใช้อักษรภาษอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการตะโกน หรือการข่มขู่ผู้อ่าน

6. จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อการอ่าน

7. ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง

8. ใช้การตอบกลับ (reply) แทนการเขียน (compose) ข้อความใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามเรื่องราวของอีเมลที่เกี่ยวข้องกันได้สะดวก

9. ใช้การตอบกลับไปยังทุกคน (reply all) เมื่อจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในการตอบอีเมลนั้น

10. ใช้อักษรตัวย่อ หรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟื่อยจนเกินไป และคาดหวังว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร